วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

รู้ทันไวรัสโคโรนา หรือไควิด-19

สถานการณ์ของโรคระบาดที่มีชื่ออยู่โลกออนไลน์ตลอดทุกวัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นอย่าง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” ทำให้ใครหลายคนเป็นกังวล และคอยติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้ออันตรายนี้
มีเรื่องอะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 บ้าง Sanook Health ชวนมาไล่ดูไปทีละข้อพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

ไวรัสโคโรนา หรือไควิด-19 คืออะไร?

ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโควิด-19 จึงหมายถึงไวรัสชนิดเดียวกัน

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 มาจากไหน?

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 แรกเริ่มเดิมทีถูกค้นพบจากสัตว์ก่อน โดยเป็นสัตว์ทะเลที่มีการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วคนที่อยู่ใกล้ คลุกคลีกับสัตว์เหล่านี้ก็ติดเชื้อไวรัสมาอีกที โดยเริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยมีข้อสงสัยว่ามาจากตลาดที่ค้าขายสัตว์ทะเล และสัตว์หายากเหล่านี้

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองมี 5 อาการหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้
  1. มีไข้
  2. เจ็บคอ
  3. ไอแห้ง ๆ
  4. น้ำมูกไหล
  5. หายใจเหนื่อยหอบ
บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โดย ทางด้านแพทย์อาจจะตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยการเอกซ์เรย์ปอด แล้วพบว่าปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากมีอาการหนักมาก ๆ (พบว่าติดเชื้อในระยะหลัง ๆ แล้ว) อาจอันตรายถึงอวัยวะภายในต่าง ๆ ล้มเหลว

อันตรายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19

แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น
นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น รวดเร็วขึ้น

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19

  • เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
  • ผู้สูงอายุ
  • คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
  • คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
  • คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
  • ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

หากมีอาการโควิด 19 ควรทำอย่างไร ?

  • หากมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตาม 5 ข้อดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และเมื่อแพทย์ซักถามควรตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมากที่สุด
  • หากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอกเป็นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟักตัว (ให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่ติดเชื้อ)

หากสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ควรทำอย่างไร ?

หากตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีอาการของโรค หรือเพิ่งกลับจากประเทศที่เสี่ยงติดเชื้อมา สามารถขอตรวจโรคกับทางโรงพยาบาลได้ มีทั้งแบบฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย
**หากไม่มีอาการใด ๆ เลย ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ
ตรวจเชื้อโควิด-19 ฟรี หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้
  1. เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
  2. มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
  3. มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  4. มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  5. มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
  6. ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
สามารถเข้ารับการตรวจฟรีได้ที่โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลศิริราช
และสามารถเช็กโรงพยาบาลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค โทร 1422
ตรวจเชื้อโควิด-19 แบบมีค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการตรวจร่างกาย และตรวจเชื้อโควิด-19
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราคา 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ราคา 3,000-6,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโล (ทุกสาขา) ราคา 5,000-13,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคา 5,000 บาท
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ราคา 5,000 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ราคา 6,500 บาท
  • โรงพยาบาลแพทย์ รังสิต ราคา 7,000 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราชฯ ราคา 9,900 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงตามระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อ

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

  1.  หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
  2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
  3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
  4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
  5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
  6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา
ทางกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ การดำรงอยู่ ของ เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีโอกาสอยู่บนพื้นต่างๆ โดยได้อ้างอิงจาก นพ.พิเชษฐ บัญญติ แพทย์เวชศาสตร์ผ้องกัน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า
  1. เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
  2. เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน
  3. เชื้อไวรัสโควิด 19 มีชีวิตอยู่ บริเวณ พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้นาน 7-8 ชั่วโมง
  4. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง
  5. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่บนวัสดุพื้นเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง
  6. เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในอุณภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส ได้นาน 1 เดือน
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโควิด 19 เพิ่มเติม https://quizizz.com/join/quiz/5e71ada666380f001b2cb7f1/start?referrer=54bfb753e4c9406112267056

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

must and musn't



ทำแบบฝึกหัดเพื่อความเข้าใจ
แบบฝึกหัดเพิ่มเติม

เรื่องของบ้านในประเทศอังกฤษ


Yoo Angrit Living: เรื่องของบ้านในประเทศอังกฤษ 
                                                         Credit : Kanchana Minson
คนอังกฤษนิยมสร้างบ้านด้วยอิฐเปลือยสีน้ำตาล และหากมีการฉาบปูนก็นิยมทาสีเป็นสีขาวหรือสีครีมอ่อนๆ ไม่นิยมทาสีฉูดฉาดเช่นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว บ้านในอังกฤษมีหลายแบบ
1. detached house (ดิแท็ชท ฮาวส) บ้านเดี่ยว
2. semi-detached house (เซมิ ดิแท็ชท ฮาวส) บ้านแฝด
3. terraced house (เทอริสท ฮาวส) บ้านตึกแถว
...ดูเพิ่มเติม
Yoo Angrit Living: เรื่องของบ้านในประเทศอังกฤษ 
คนอังกฤษนิยมสร้างบ้านด้วยอิฐเปลือยสีน้ำตาล และหากมีการฉาบปูนก็นิยมทาสีเป็นสีขาวหรือสีครีมอ่อนๆ ไม่นิยมทาสีฉูดฉาดเช่นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว  บ้านในอังกฤษมีหลายแบบ
1. detached house (ดิแท็ชท ฮาวส) บ้านเดี่ยว
2. semi-detached house (เซมิ ดิแท็ชท ฮาวส) บ้านแฝด
3. terraced house (เทอริสท ฮาวส) บ้านตึกแถว
4. bungalow (บั้งเกอะโล) บ้านชั้นเดียว 
5. flat (แฟลท) ห้องชุดที่อยู่ในอาคารหลังใหญ่ แฟลทในประเทศอังกฤษจะมีห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนอนแยกเป็นสัดส่วน และอาจจะเป็นแฟลท แบบ one bedroom flat หรือ two bedroom flat หรือมีห้องนอนมากกว่านั้นก็ได้ ดังนั้นแฟลทน่าจะมีความหมายใกล้เคียงกับคอนโดในเมืองไทย
6. studio flat (สตู้ดิโอ แฟลท) แฟลทที่เป็นจัดพื้นที่สำหรับนอน นั่งเล่น ครัวอยู่ในห้องเดียวกัน ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า หอ หรือ อพาร์ทเม้น (ซึ่งเป็นคำแบบอเมริกัน) ที่เราเรียกกันในเมืองไทย

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

Yoo Angrit: เกาะกระแสวันครู

Yoo Angrit: เกาะกระแสวันครู
ในประเทศอังกฤษ นักเรียนเรียกชื่อครู โดยใช้คำนำหน้าชื่อ Mr. (มิสเต่อ) สำหรับครูผู้ชาย และ Mrs. (มิสซิส) สำหรับครูผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือ Miss (มิส) สำหรับครูผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงาน แล้วตามด้วยนามสกุล อย่างคุณครูชื่อ Mr. Mark North นักเรียนก็จะเรียกว่า Mr. North หรือ คุณครู Miss Jane Strictland นักเรียนก็จะเรียกว่า Miss Strictland ดังนั้นเมื่อเข้าห้องเรียนตอนเช้า นักเรียนจะไม่ (ย้ำค่ะว่าไม่) ทักทายครูว่า Good morning, teacher. แต่นักเรียนจะทักทายครูว่า Good morning, Mr. North. และเวลาต้องการเรียกครู ก็ไม่เรียกว่า "ทีเช้อ ทีเช้อ" (teacher, teacher) แต่นักเรียนต้องพูดว่า Excuse me, Mr. North. คำว่า excuse me ออกเสียง อิกส คิวส มี ไม่ใช่ เอ็ก คิ้ว มี นะคะ

เกาะกระแสวันครู เรื่องชุดนักเรียน (a school uniform)

Yoo Angrit: เกาะกระแสวันครู เรื่องชุดนักเรียน (a school uniform)
ที่ประเทศอังกฤษนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ต้องใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียน ชุดนักเรียนของโรงเรียนของรัฐ (state school) ซึ่งผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายค่าเทอม จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือ
1. เด็กผู้ชายจะใส่กางเกง (trousers) เด็กผู้หญิงจะใส่กางเกง หรือ กระโปรง (skirt) ก็ได้ สีดำ น้ำเงินเข้ม หรือสีเทา
2. เสื้อเป็นเสื้อคอโปโล (polo shirt) ส่วนใหญ่ใช้สีขาว หรือสีอื่นๆตามที่โรงเรียนกำหนด
3.เสื้อคลุมตัวนอก เด็กผู้ชายใส่เสื้อหนาวแบบไม่ผ่าหน้า (jumper) ส่วนเด็กผู้หญิงใส่เสื้อคลุมแบบผ่าหน้ามีกระดุมติด (cardigan) หรือจะใส่ jumper ก็ได้ สีตามที่โรงเรียนกำหนด สียอดฮิตได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวเข้ม สีม่วง
... 4. รองเท้า (shoes)เป็นรองเท้าสีดำหรือสีน้ำตาล ในหน้าหนาวเด็กใส่รองเท้าบู้ทมาได้
5. เด็กผู้ชายใส่ถุงเท้า (socks) สีเข้ม เด็กผู้หญิงใส่ถุงเท้าสีขาว สีเทา หรือสีดำ ในหน้าหนาวเด็กผู้หญิงจะใส่ถุงน่อง (tights)
6. ในหน้าร้อน ในระดับประถม เด็กผู้หญิงจะมีชุดหน้าร้อน summer uniform สีตามสีของโรงรียน เช่นสีน้ำเงิน สีแดง
โรงเรียนของเอกชน (แต่เรียกว่า public school) ซึ่งผู้ปกครองต้องจ่ายค่าเทอมแพงมากๆ จะมีชุดนักเรียนที่หรูหราตามรายได้ของผู้ปกครอง มักจะให้นักเรียนใส่เสื้อสูท (blazer -เบล้เซอะ) ผูกเน็คไท (tie)
โรงเรียนไม่มาสนใจความสั้นยาวของกระโปรง กางเกง จะเลยหัวเข่าไปกี่เซ็นติเมตรก็เรื่องของเด็ก ส่วนเรื่องทรงผมก็แล้วแต่ชอบ จะมาหัวฝู ผมสั้น ผมยาว ติดกิ๊บมาสิบอัน ใส่ที่คาดผม ตั้งกระบัง ปัดเฉียง เอียงข้างก็ตามใจ
Yoo Angrit: เกาะกระแสวันครู เรื่องชุดนักเรียน (a school uniform)
ที่ประเทศอังกฤษนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ต้องใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียน ชุดนักเรียนของโรงเรียนของรัฐ (state school) ซึ่งผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายค่าเทอม จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือ 
1. เด็กผู้ชายจะใส่กางเกง (trousers)  เด็กผู้หญิงจะใส่กางเกง หรือ กระโปรง (skirt) ก็ได้ สีดำ น้ำเงินเข้ม หรือสีเทา  
2. เสื้อเป็นเสื้อคอโปโล  (polo shirt) ส่วนใหญ่ใช้สีขาว หรือสีอื่นๆตามที่โรงเรียนกำหนด
3.เสื้อคลุมตัวนอก เด็กผู้ชายใส่เสื้อหนาวแบบไม่ผ่าหน้า (jumper) ส่วนเด็กผู้หญิงใส่เสื้อคลุมแบบผ่าหน้ามีกระดุมติด (cardigan) หรือจะใส่ jumper ก็ได้ สีตามที่โรงเรียนกำหนด สียอดฮิตได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวเข้ม สีม่วง
4. รองเท้า (shoes)เป็นรองเท้าสีดำหรือสีน้ำตาล ในหน้าหนาวเด็กใส่รองเท้าบู้ทมาได้ 
5. เด็กผู้ชายใส่ถุงเท้า (socks) สีเข้ม เด็กผู้หญิงใส่ถุงเท้าสีขาว สีเทา หรือสีดำ ในหน้าหนาวเด็กผู้หญิงจะใส่ถุงน่อง (tights)
6. ในหน้าร้อน ในระดับประถม เด็กผู้หญิงจะมีชุดหน้าร้อน summer uniform สีตามสีของโรงรียน เช่นสีน้ำเงิน สีแดง 
โรงเรียนของเอกชน (แต่เรียกว่า public school) ซึ่งผู้ปกครองต้องจ่ายค่าเทอมแพงมากๆ จะมีชุดนักเรียนที่หรูหราตามรายได้ของผู้ปกครอง มักจะให้นักเรียนใส่เสื้อสูท (blazer -เบล้เซอะ) ผูกเน็คไท (tie) 
โรงเรียนไม่มาสนใจความสั้นยาวของกระโปรง กางเกง จะเลยหัวเข่าไปกี่เซ็นติเมตรก็เรื่องของเด็ก ส่วนเรื่องทรงผมก็แล้วแต่ชอบ จะมาหัวฝู ผมสั้น ผมยาว ติดกิ๊บมาสิบอัน ใส่ที่คาดผม ตั้งกระบัง ปัดเฉียง เอียงข้างก็ตามใจ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ครูผู้ขัดเกลา

               
           นานมาแล้ว ฉันเคยกล่าวว่า หน้าที่ครูของฉัน ไม่ใช่เรือจ้าง แต่ฉันเปรียบเหมือนคนสวนดูแลต้นไม้ เขายกกระถางต้นไม้มาให้ฉันรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เด็ดใบเหี่ยว เก็บหนอนทิ้ง ต้นไม้บางต้นก็เล็ก บางต้นก็ใหญ่ บางต้นก็ดูดซึมปุ๋ยดี บางต้นโตเร็ว บางต้นโตช้า ฉันก็รักต้นไม้ทุกต้น เมื่อเขาเติบใหญ่ ใบสวย ดอกงามแล้ว เขาก็ได้ไปแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นไม้ใหญ่ต่อไป วันนี้ไม่ได้เป็นคนสวนแล้ว แต่ก็ยังแอบแวะเวียนไปชมไม้ใหญ่ ไม่ได้ต้องการอะไร แค่ยังห่วงใย ขอแค่รู้ว่าไม้ใหญ่สบายดี....ก็เท่านั้น
 
                                                                                         Credit : Kanchana Minson

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Back To School.2-2555

เปิดเทอมใหม่ ลองฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
Grammar Exercises
Did you know that you can learn grammar and have some fun at the same time? Practise grammar with these exercises and if you find any of them difficult follow the link to our quick grammar reference pages where you can get help.

ตามลิงค์นี้เลย
http://learnenglish.britishcouncil.org/en/grammar-games